หน้าเว็บไซต์หลัก
หัวข้อ ประเมินผลงาน 6 เดือน รัฐบาล นายกฯ อภิสิทธิ์
                  ด้วยวันที่ 20 มิถุนายน ที่ผ่านมาเป็นวันครบรอบ 6 เดือนในการทำงานของรัฐบาล นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์) จึงได้ดำเนินการสำรวจความคิดเห็น เรื่อง“ประเมินผลงาน 6 เดือน
รัฐบาลนายกฯ อภิสิทธิ์
”  ขึ้น โดยเก็บข้อมูลจากประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปจากทุกสาขาอาชีพในเขตกรุงเทพมหานคร
จำนวนทั้งสิ้น 1,337 คน เมื่อวันที่ 16-18 มิถุนายน ที่ผ่านมา สรุปผลได้ดังนี้
 
             1. คะแนนความพึงพอใจผลงานของรัฐบาล นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ได้คะแนนเฉลี่ย 4.06 คะแนน
                 (จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน) โดยมีคะแนนความพึงพอใจผลงานในแต่ละด้านดังนี้

 
คะแนน
ด้านการต่างประเทศ
4.58
ด้านสังคมและคุณภาพชีวิต
4.13
ด้านเศรษฐกิจ
3.95
ด้านการบริหารจัดการและการบังคับใช้กฎหมาย
3.91
ด้านความมั่นคงของประเทศ
3.73
 
             2. คะแนนความพึงพอใจต่อการทำงานของพรรคแกนนำรัฐบาล พรรคร่วมรัฐบาล และ
                 พรรคฝ่ายค้าน มีดังนี้ (จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน)

 
คะแนน
พรรคแกนนำรัฐบาล (พรรคประชาธิปัตย์)
4.38
พรรคร่วมรัฐบาล (พรรคภูมิใจไทย พรรคชาติไทยพัฒนา พรรคเพื่อแผ่นดิน)
3.40
พรรคฝ่ายค้าน (พรรคเพื่อไทย พรรคประชาราช)
3.46
 
             3. กระทรวงที่ประชาชนมีความเคลือบแคลงสงสัยเรื่องการทุจริตคอร์รัปชัน มากที่สุด (3 อันดับแรก)
                 ได้แก่

 
ร้อยละ
อันดับ 1 กระทรวงคมนาคม
34.6
อันดับ 2 กระทรวงการคลัง
24.2
อันดับ 3 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
7.7
 
             4. เรื่องที่ประชาชนเห็นว่ารัฐบาลชุดปัจจุบัน สมควรได้รับการชื่นชม มากที่สุด 3 อันดับแรก คือ
                 (เป็นคำถามปลายเปิดให้ผู้ตอบระบุเอง)

 
ร้อยละ
เรื่องที่นายกฯ ใช้ความสุขุม ประนีประนอม ในการแก้ปัญหาความขัดแย้ง
ของคนในชาติ
17.6
เรื่องการให้ความช่วยเหลือ มอบสวัสดิการให้กับประชาชนผู้มีรายได้น้อย
16.5
เรื่องการสนับสนุนด้านการศึกษา เช่น โครงการเรียนฟรี
14.8
 
             5. เรื่องที่ประชาชนเห็นว่ารัฐบาลชุดปัจจุบัน สมควรปรับปรุงแก้ไข มากที่สุด 3 อันดับแรก คือ
                 (เป็นคำถามปลายเปิดให้ผู้ตอบระบุเอง)

 
ร้อยละ
เรื่องแนวทางการแก้ปัญหาเศรษฐกิจ และราคาสินค้าเกษตร
37.3
เรื่องการแก้ปัญหาคอร์รัปชัน สร้างความชัดเจนและโปร่งใสในการทำงาน
10.5
เรื่องการทำงานล่าช้า ไม่เด็ดขาด ไม่มีผลงานที่ชัดเจนเป็นรูปธรรม
9.6
 
             6. ความมั่นใจว่าในช่วง 6 เดือนที่เข้ามาบริหารประเทศ รัฐบาลนายกฯ อภิสิทธิ์ ได้นำพาประเทศ
                 เดินไปในทิศทางที่ถูกต้องหรือไม่ พบว่า

 
ร้อยละ
เชื่อว่าถูกต้องแล้ว
33.7
เชื่อว่าไม่ถูกต้อง
21.9
ไม่แน่ใจ
44.4
 
             7. สำหรับความเชื่อมั่นเกี่ยวกับระยะเวลาในการอยู่บริหารประเทศของรัฐบาลนายกฯ อภิสิทธ์ พบว่า

 
ร้อยละ
เชื่อว่ารัฐบาลจะอยู่ได้เกิน 1 ปี
64.5
เชื่อว่ารัฐบาลจะอยู่ไม่ครบ 1 ปี
         ( สำหรับสาเหตุที่จะทำให้รัฐบาลอยู่ไม่ครบ 1 ปี เนื่องจาก ความขัดแย้ง
           กับพรรคร่วมรัฐบาล  ผลงานไม่เป็นที่ยอมรับของประชาชน  และปัญหา
           การทุจริตคอร์รัปชัน ตามลำดับ )
35.5
 
รายละเอียดในการสำรวจ
วัตถุประสงค์ในการสำรวจ:
                  เพื่อสอบถามความคิดเห็นของประชาชนในประเด็นต่อไปนี้
                      1. ความพึงพอใจผลงานของรัฐบาล นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ในด้านต่างๆ
                      2. ความพึงพอใจการทำงานของพรรคฝ่ายรัฐบาลและพรรคฝ่ายค้าน ในช่วง 6 เดือน ที่ผ่านมา
                      3. กระทรวงที่ประชาชนมีความเคลือบแคลงสงสัยเรื่องการทุจริตคอร์รัปชันมากที่สุด
                      4. เรื่องที่รัฐบาลชุดปัจจุบันสมควรได้รับการชื่นชมมากที่สุด
                      5. เรื่องที่รัฐบาลชุดปัจจุบันสมควรปรับปรุงแก้ไขมากที่สุด
                      6. ความมั่นใจเกี่ยวกับการนำพาประเทศไปทิศทางที่ถูกต้อง
                      7. ความเชื่อมั่นเกี่ยวกับระยะเวลาในการบริหารประเทศของรัฐบาลนายกฯ อภิสิทธ์
 
ระเบียบวิธีการสำรวจ:
                  การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างประชาชน อายุ 18 ปีขึ้นไปในทุกสาขาอาชีพ ที่อาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร
ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Sampling) โดยสุ่มเขตการปกครองทั้งเขตชั้นนอก ชั้นกลาง และ
ชั้นใน จากนั้นจึงสุ่มถนน และประชากรเป้าหมายที่จะสัมภาษณ์อย่างเป็นระบบ โดยใช้การสัมภาษณ์แบบพบตัว และการ
สัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ จำนวนกลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 1,337 คน เป็นเพศชายร้อยละ 43.4 และเพศหญิงร้อยละ 56.6
 
ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error):
                  ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน  3% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
 
วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล:
                  ใช้การสัมภาษณ์แบบพบตัว (Face-to-face Interview) และการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ เครื่องมือที่ใช้ในการ
เก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน ประกอบด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) และ
คำถามปลายเปิด (Open Form) จากนั้นคณะนักวิจัยได้นำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อน
บันทึกข้อมูลและประมวลผล
 
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล: 16 – 18 มิถุนายน 2552
 
วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ: 22 มิถุนายน 2552
 
สรุปข้อมูลพื้นฐานของกลุ่มตัวอย่าง:
ตารางที่ 1: ข้อมูลประชากรศาสตร์
 
จำนวน
ร้อยละ
เพศ:    
             ชาย
580
43.4
             หญิง
757
56.6
รวม
1,337
100.0
อายุ:
 
 
             18 ปี – 25 ปี
363
27.2
             26 ปี – 35 ปี
407
30.4
             36 ปี – 45 ปี
298
22.3
             46 ปีขึ้นไป
269
20.1
รวม
1,337
100.0
การศึกษา:
 
 
             ต่ำกว่าปริญญาตรี
653
48.9
             ปริญญาตรี
590
44.1
             สูงกว่าปริญญาตรี
94
7.0
รวม
1,337
100.0
อาชีพ:
 
 
             ข้าราชการ / รัฐวิสาหกิจ
167
12.5
             พนักงานบริษัทเอกชน
424
31.7
             ค้าขาย / ประกอบอาชีพส่วนตัว
326
24.4
             รับจ้างทั่วไป
135
10.1
             พ่อบ้าน / แม่บ้าน / เกษียณอายุ
66
4.9
             อื่นๆ เช่น นิสิตนักศึกษา อาชีพอิสระ ว่างงาน
219
16.4
รวม
1,337
100.0
 
Vote:  ดีมาก(5) ดี (4) ปานกลาง(3) พอใช้ (2) แย่ (1)  
 ผลคะแนนVote              
 
Download PDF file:  
 
ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์)
Email: research@bu.ac.th      โทร. 0-2350-3500 ต่อ 1770-1776